
สารบ่งชี้มะเร็ง tumor marker

หากตรวจพบสารบ่งชี้มะเร็งหมายความว่าเป็นมะเร็งหรือไม่?
สารบ่งชี้มะเร็งสามารถพบได้ทั้งในผู้ป่วยมะเร็งและโรคที่ไม่ใช่มะเร็ง (โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของอวัยวะภายใน) จึงต้องใช้ควบคู่กับผลตรวจชนิดอื่นๆเพื่อการวินิจฉัยโรค

สารบ่งชี้มะเร็งที่สำคัญและนิยมใช้ในการคัดกรองมะเร็ง
1. Alpha-Fetoprotein (AFP)
แอลฟา-ฟีโตโปรตีน (หรือ AFP) พบมากในผู้ป่วยมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งอัณฑะ มะเร็งปอด หรือระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังพบมากในโรคที่ไม่ใช่มะเร็งเช่นตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบบี
2. CA 15-3
เป็นสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม ไม่นิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคระยะเริ่มแรก แต่มีความแม่นยำมากกว่าสำหรับมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายและวินิจฉัยเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ของมะเร็งหลังการรักษาแล้ว
3. CA 19-9
เป็นสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ค่าปกติจะอยู่ที่ช่วง 0-37 หน่วยต่อมิลลิลิตร (0-37 U/mL) ในปัจจุบันถือเป็นสารบ่งชี้มะเร็งที่ความแม่นยำค่อนข้างสูงในการช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาของมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งของท่อน้ำดี
4. CA 125
เป็นสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ และมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมมะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ โดยค่าปกติจะอยู่ที่ช่วง 0-35 หน่วยต่อมิลลิลิตร (0-35 U/mL)
5. Carcinoembryonic Antigen (CEA)
คาร์ซิโนเอ็มบรายโยนิค แอนติเจน (หรือ CEA) จะมีค่าสูงและพบได้บ่อยในมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกทั้งยังพบในมะเร็งทางเดินอาหาร ตับอ่อน
6. Neuron-Specific Enolase (NSE)
เป็นสารบ่งชี้มะเร็งปอดชนิด Small Cell Lung Cancer นิยมใช้ในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษา
7. Prostate Specific Antigen (PSA)
เป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยค่าปกติจะอยู่ที่ช่วง 0-4 ng/mL อย่างไรก็ตามอาจพบ PSA ในปริมาณที่สูงได้แม้ว่าจะไม่เป็นมะเร็ง เนื่องมาจากสภาวะต่อมลูกหมากโต และ ต่อมลูกหมากอักเสบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดตามเรา

ZONO Health | 12A Floor, Siam Piwat Tower, Pathumwan, Bangkok 10330 | (02) 107-4826